ภูมิปัญญาพื้นบ้านจากไม้ไผ่ไทย

องค์กรแห่งการเรียนรู้

ภูมิปัญญาพื้นบ้านจากไม้ไผ่ไทย

 ที่มาและความสำคัญ

       งานจักสานเป็นงานหัตถกรรมที่ชาวบ้านทําเพื่อใช้ในครัวเรือนมาแต่โบราณแม้ในปัจจุบัน

งานจักสานหรือเครื่องจักสานจะมีอยู่น้อย แต่ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไป ทุกภาคในประเทศนอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยแล้ว งานจักสานยังสะท้อน วัฒนธรรม สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาของชาวบ้านได้อีกด้วย (บุญเลิศ มรกต ,2545) ในขณะที่สภาพสังคม เศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากเดิม การไปมาหาสู่กันระหว่างเมืองกับชนบทติดต่อกันได้สะดวก รวมถึงความเจริญก้าวหน้าทางกระแสวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมเดิมทําให้สภาพความเป็นอยู่ การดํารงชีวิตของคนในชุมชนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลกระทบทําให้งานจักสานหรืออาชีพจักสานลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จนถึงเพื่อการส่งเสริมความรู้ด้านงานจักสานแก่ผู้ที่สนใจในอาชีพ ได้สืบทอดงานจักสานให้คงอยู่ต่อไป  การประกอบอาชีพในทุกวันนี้มีหลากหลายทางมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายและมีความสะดวกสบายมากขึ้นอยากกินปลาก็เดินไปซื้ออยู่ตลาด จนคนในยุคปัจจุบันไม่รู้จักกรรมวิธีขั้นตอนในอุปกรณ์ในการประยุกษ์เลือกนำภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ได้จากไม้ไผ่เอาวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่มาใช้ในการทำมาหากินไม่รู้จักอุปกรณ์พื้นบ้านอีสาน ที่ปู่ย่าจักรสานขึ้น อย่างเช่น สุ่มไก่ การสานกระด้ง กระติบข้าว อีโฮ่งใช้ร่อนปลา กระชังใส่ปลาซึ่งอุปกรณ์บางอย่างเราก็ไม่รู้จัก จึงจำเป็นอย่างมากที่เราควรจะศึกษาขั้นตอนในการทำอุปกรณ์พื้นบ้านต่างๆเพื่อจะได้สืบสานต่อไปคู่ไว้ให้อยู่กับคนไทยไปยาวนาน

1 การจักรสานสุ่มไก่

ความเป็นมาสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ประชาชนนิยมกีฬาชนไก่ จึงมีการเลี้ยงไก่ชนเป็นจำนวน มากและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงดูไก่ชนอย่างใกล้ชิดคือสุ่มไก่ ซึ่งสุ่มไก่นี้สานได้ง่าย มีราคาถูกและใช้ประโยชน์ได้ดีการสานสุ่มไก่นี้ศึกษาที่บ้านนาย ศีละ จะกะ เลขที่ 31 หมู่ที่ 1 ต.สันผักหวาน อ. หางดง จ.เชียงใหม่ซึ่งสามีนางสงวนฯ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) สานสุ่มไก่เป็น คนแรกในหมู่บ้านเมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้วปัจจุบันลูก ๆ ศีละ ฯ ยังคงสานสุ่มไก่ เป็นอาชีพเสริมจากการทำรับจ้างทั้วไป ซึ่งมีฝีมือดีสานสุ่มไก่ได้รวดเร็ว สำหรับบ้านนี้ทำกัน 1 คน

                                                                                                             

                                                        ไผ่ตะเกียบ11

 

ไผ่ตะเกียบ คุณสมบัติมีความเหนียวและอ่อนตัวได้ดี ไผ่ตะเกียบที่นำมาจักสานสุ่มไก่มี อายุประมาณ 5 ปีแหล่งที่มาเก็บหาภายในหมู่บ้านซึ่งมีเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่รับซื้อ จากหมู่บ้านอื่น ราคาลำละ 4 บาทแต่ละลำมีความยาวประมาณ 8 ม.

 เครื่องมือและอุปกรณ์

 1. เลื่อยคันธนู ใช้เลื่อยตัดข้อปลายลำไผ่ และเลื่อยตัดปากสุ่มเมื่อสานสุ่มไก่ เสร็จแล้ว

 2. มีดพร้า ใช้ผ่าลำไผ่และเหลาจักตอกไผ่เพื่อแยกส่วนในและส่วนผิวของไผ่ ซึ่งส่วนผิวที่ใช้งานจะมีความเหนียว ง่ายต่อการจักสาน

 3. ค้อน ใช้ตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดส่วนหัวสุ่มไก่เมื่อสานขึ้นรูป

   วิธีการจักสาน

 1. การจักตอกไผ่

 1.1 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก

 1.2 ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ

 1.3 จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่มีตาไผ่)

 ความกว้างของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน 1.3–1.7 ซม. ตอกยาว 0.8 ซม.และตอกไผ่ตีน 1.6–2.0 ซม.

 ซึ่งไผ่หนึ่งลำเหลาจักตอกได้ตอกยืนใช้สานสุ่มไก่ได้ 1 ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ 2 ใบ

 1.4 ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่ม ขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป

 2. การสานสุ่มไก่

 2.1 เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด

 2.2 ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไก่ ไว้ใน การสานขึ้นรูป

 2.3 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม

 2.4 สานตีนสุ่มโดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 5 เส้น

 2.5 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวตีนสุ่มไก่ทิ้งไป

1.การจักตอกทำสุ่มไก่

      2.การสานลายขัดหัวสุ่มไก่

 

     3.การสานขึ้นหัวสุ่มไก่

 

4.การสานขึ้นรูปแบบลายหนึ่งรอบ ๆ สุ่มไก่

 

  


    5.สุ่มไก่ที่แล้วเสร็จ

2.การจักรสานกระบุ้ง

              ลักษณะของเครื่องมือ: กระบุง เป็นภาชนะที่จักสานด้วยไม้ไผ่เป็นลวดลายต่างๆ ใช้สำหรับใส่ข้าว ข้าวโพด ถั่วงา ใช้ตวงหรือโกย และใส่ของอื่นๆ ปากมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมกว้างประมาณ 30-40 เซนติเมตร ก้นมีรูปทรงสี่เหลี่ยม และมีหูห้อยตรงปากกระบุง 2 ข้างเอาไว้สำหรับร้อยเชือกเพื่อใช้หาบ หรือหิ้ว ขนาดของกระบุงโดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ สามขนาด รูปทรงจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการใช้งาน กระบุงขนาดใหญ่มีหูร้อยเชือกเพื่อใช้หาบ ขนาดกลางใช้ในการตวงหรือโกย และกระบุงขนาดเล็กจะใช้สำหรับงานเบ็ดเตล็ดทั่วๆ ไป 

 การใช้ประโยชน์:หลังการเก็บเกี่ยว และเก็บรักษา

 อธิบายการใช้ประโยชน์: กระบุง เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตักตวงหรือโกย ข้าว เมล็ดพืช และใส่สิ่งของอื่นๆ ทั้งนี้การใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของกระบุงด้วย ซึ่งหากเป็นกระบุงขนาดใหญ่จะใช้สำหรับในการหาบข้าว หรือเมล็ดพืชต่างๆ ถ้าเป็นขนาดกลางจะใช้สำหรับในการตวง หรือโกยข้าว แต่ถ้าหากเป็นกระบุงขนาดเล็กจะนิยมมาใส่ของเบ็ดเตล็ด กระบุงสามารถใช้งานได้ประมาณ 2-4 ปี และนิยมทำกันในท้องถิ่น

“การสานกระบุง”

 

วัตถุดิบ

          1.ไผ่สีสุก สำหรับจักสานเป็นตอก และขอบตะกร้า

          2. หวาย สำหรับถักรัดขอบตะกร้า หวายที่นิยมในงานจักสานโดยเฉพาะ “หวายหอม” ที่สำหรับทำเส้นหวายให้มีขนาดตามที่ต้องการ

อุปกรณ์ที่สำคัญ

มีดโต้หรือพร้า สำหรับผ่า เหลาและจักไม้ไผ่ให้เป็นตอก ขอบปากและไผ่ขัดก้นตะกร้า รวมทั้งส่วนอื่นๆ ที่จำเป็น

เลื่อยมือ สำหรับตัดผ่าแบ่งไม้

 

วิธีทำ

ขั้นตอนแรก นำไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 50 ซม.

ขั้นตอนที่ 2แล้วผ่าแบ่งก่อนจะนำมาจักเป็นตอก โดยเหลาให้ปลายตอกทั้งสองด้านเท่ากัน จากนั้นนำตอกมาสานเป็นลายสองธรรมดา

ขั้นตอนที่ 3 แล้วเหลาไม้ไผ่เป็นซี่สองอันให้ปลายแต่ละด้านแหลมเรียว ก่อนจะนำไปสอดขัดกับตอกที่สานเป็นพื้นเพื่อให้แข็งแรง งานที่ได้ในช่วงนี้คือส่วนของพื้นหรือก้นตะกร้า 

ขั้นตอนที่ 4 จากนั้นสานแบบบังคับทิศทางให้เป็นรูปทรงกลมตามแบบที่ต้องการก่อนจะใช้ตอกอีกส่วนหนึ่งไพล่เป็นเส้นเล็กสานขวางขัดกับตอกยืนจนสุดขอบปากตะกร้า ก่อนจะพับปลายตอกยืนให้เขาไปในรอยตอก ทำไปจนรอบใบจะได้ตะกร้าที่สวยงาม

 3.การจักรสานกระติบข้าว

         ความรู้เรื่องกระติบข้าว และวิธีสานกระติบข้าว

กระติบข้าว(หรือก่องข้าวเหนียว)เป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่รับประทานข้าวเหนียว โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย ซึ่งชาวอีสานนิยมบริโภคข้าวเหนียว

วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว

กระติบข้าวสามารถทำได้จากวัสดุหลายอย่าง เช่น ใบจาก ใบตาล ใบลาน เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้ทำมาก และมีคุณภาพดีที่สุด ต้องทำจากไม้ไผ่ไม้ไผ่มีหลายชนิด แต่ละชนิด เหมาะกับงานแต่ละอย่าง และไม้ไผ่ที่นิยมนำมาทำกระติบข้าว คือไม้ไผ่บ้าน หรือไม้ไผ่ใหญ่ อายุประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปี เพราะมีปล้องใหญ่และปล้องยาว เนื้อไม้เหนียวกำลังดี ไม่เปราะง่าย ทำเป็นเส้นตอกสวย ขาว

       วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว

1. ไม้ไผ่บ้าน

2. ด้ายไนล่อน

3. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่

4. กรรไกร

5. มีดโต้

6. เลื่อย

7. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)

8. ก้านตาล

9. เครื่องขูดตอก

10. เครื่องกรอด้าย

         ขั้นตอนการสานกระติบข้าว

1.       นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก ผ่าเป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ2-3 ม.ม. ขูดให้เรียบและบาง

2.       นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี 2 ฝา มาประกอบกัน

3.       นำกระติบข้าวที่ได้จากข้อ (2.) มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา

4.       ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก และลายขัด

5.       นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง

6.       ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย

7.       นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว

8.       นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะ และเพื่อความสวยงาม ทนทาน ไม่เกิดราดำ

9.       นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบ บางเท่ากับฝากระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เพื่อความสวยงาม

10.   เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่เจาะเชิงไว้

11.   ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้

ประโยชน์ที่ได้จากกระติบข้าว

1. ใช้บรรจุข้าวเหนียว

2. เป็นของชำร่วย

3. ประดับตกแต่ง

4. กล่องเอนกประสงค์

5. กล่องออมสิน

6. แจกัน

7. กล่องใส่ดินสอ

        ข้อเสนอแนะ

1.    การเลือกไม้ไผ่ ควรเลือกไม้ไผ่ ที่มีปล้องยาวอายุประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปี

2.    การจักตอก ต้องมีขนาดความกว้าง ความยาวให้เท่า ๆ กันทุกเส้น เพื่อจะได้กระติบรูปทรงสวยงาม

3.    ก่อนที่จะเหลาเส้นตอก หรือขูดให้นำเส้นตอกที่จักแล้ว แช่น้ำประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้เส้นตอกอ่อนนุ่ม จะได้ขูดเหลาง่ายขึ้น แล้วนำไปตากแดด ให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันเชื้อราก่อนลงมือสาน

   4.การจักรสานไซดักปลา

การทำไซดักปลา

         ไซ เป็นเครื่องมือดักสัตว์น้ำ โดยมากดักปลาในกลุ่มปลาเล็กปลาน้อย ใช้งานในแหล่งน้ำไม่ลึก มักเป็นแหล่งน้ำไหลและเป็นการเปิดช่องระบายน้ำเข้าออกตามบิ้งนาคันนา ไซมีหลายรูปทรง ตั้งชื่อตามรูปทรงนั้น เช่น ไซปากแตร สานเป็นรูปกรวยปากไซบานออกเป็นรูปปากแตร ไซท่อ สานคล้ายท่อดักปลา หรืออาจตั้งชื่อตามวัตถุประสงค์ เช่น ไซสองหน้า มีช่อง 2 ด้าน ไซลอย ใช้วางลอยในช่วงน้ำตื้น ๆ แหวกกอข้าวหรือกอหญ้า วางแช่น้ำไว้ ไซปลากระดี่ ใช้ดักปลากระดี่ ไซกบ สานเป็นลายขัดตาสี่เหลี่ยมรูปทรงกระบอก ใช้ดักกบ ไซโป้ง สานก้นโป่งเล็กน้อย แม้ว่าจะมีรูปลักษณ์ที่ต่างกัน แต่มีลักษณะร่วมกันคือ สานเป็นทรงกระบอกและทำปากทางเข้าเป็นงาแซง (ซี่ไม้เสี้ยมปลายแปลม รูปทรงคล้ายกรวยที่บีบแบน ๆ ทำให้ปลาเข้าได้ แต่ว่ายสวนความคมของปลายไม้ออกมาไม่ได้)

          วัสดุที่ใช้คือต้นไผ่ ปัจจุบันนี้หาง่ายมาก มีปลูกกันเต็มไปหมดทุกหัวระแหงต้นไผ่ที่นำมาทำไซ ต้องไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ขนาดกลางๆ อายุประมาณ 2-3 ปี เพราะถ้าแก่เกินไป มันก็จะหักง่าย ส่วนไผ่ที่เอามาทำส่วนใหญ่จะเป็นไผ่สีสุก เพราะทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง โดยไผ่ 1 ลำจะสามารถทำไซได้ 1ลูก ซึ่งแต่ละลูกจะใช้เวลาทำประมาณ 3-5 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของไซด้วย”

วิธีการสานไซ ผู้ทำมักเหลาเส้นตอกให้เล็กเป็นเส้นกลมยาวอย่างน้อย 2 ปล้องไผ่ เมื่อได้เส้นตอกตามจำนวนที่ต้องการแล้วนำมามัดปลายด้านหนึ่งรวมกัน ก่อนจะพับให้กลับไปด้านหลัง แล้วใช้เส้นตอกอีกส่วนหนึ่งสานขวางสลับกันไปตั้งแต่ด้านบนถึงด้านล่าง การสานนิยมสานเป็น “ลายขวางไพห้า” ระหว่างสานผู้ทำต้องบังคับให้รูปทรงป่องแคบตามลักษณะของงาน ส่วนบริเวณตรงกลางหรือกลางค่อนไปทางปลายจะมีการเจาะใส่งาอีกด้านละช่อง เพื่อให้เป็นส่วนที่ปลาวิ่งเข้าและนำออก


         ประโยชน์ของไซดักปลา มีคุณค่าต่อวิถีชีวิตของคนในอดีตทุกบ้านจะทำไซไว้ใช้เองโดยจะนำไซไปดักไว้ตามคลองที่น้ำไหลผ่าน  ซึ่งสถานที่ดักก็จะมีอยู่ทั่วไปตามไร่ตามนา  ในฤดูฝนมีน้ำหลาก  ชาวบ้านออกไปทำไร่  ทำนา  ก็จะนำไซไปดักทิ้งไว้ด้วย  ก็จะได้ปู  ปลาต่าง ๆ  มากมาย  บางครั้งอาจยกไซไม่ได้เนื่องจากหนักเพราะดักปลาได้เกือบเต็มไซ  ปลาที่ได้ก็จะนำไปประกอบอาหารสำหรับทุกคนในครอบครัว  แบ่งปันให้เพื่อนบ้านบ้าง  โดยไม่ต้องซื้อขายกัน  ที่เหลือก็จะนำมาถนอมอาหารเช่น  ทำปลาร้า  ปลาเค็ม  ปลาย่าง  เก็บไว้กินยามฤดูแล้ง  ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ที่สามารถหาปลากินได้อย่างเหลือเฟือ  เป็นที่มาของความเชื่อในเรื่องโชคราง  ชาวบ้านตำบลเพชรชมภู มีความเชื่อว่าไซ  เป็นเครื่องรางที่จะช่วยดักเงินทอง  โชคลาภได้  จึงมักจะนำไซไปแขวนไว้ตามหน้าร้านค้า  ประตูบ้าน  หรือใช้ผูกเสาเอกในพิธีลงเสาเอกบ้านเรือน  เพื่อความเป็นสิริมงคล

      5.การจักรสานข้องใส่ปลา

ข้อง  เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง สานด้วยผิวไม้ไผ่ ปากแคบอย่างคอหม้อ มีฝาปิดเปิดได้ เรียกว่า ฝาข้อง ฝาข้องมีชนิดที่ทำด้วยกะลามะพร้าว และใช้ไม้ไผ่สานเป็นรูปกรวย ปลายกรวยแหลมปล่อยเป็นซี่ไม้ไว้เรียกว่า งาแซง ข้องใช้สำหรับใส่ ปลาปู กุ้ง หอย กบ เขียด

การใช้งาน ใช้ใส่ปลา กุ้ง หอย ทุกชนิด ใช้ในเวลาที่ออกหาปลา โดยผูกข้องไว้ที่เอว ถ้าจับปลาที่มีขนาดใหญ่นิยมใช้ข้องเป็ด เพราะปลาไม่ต้องงอตัวอยู่ในข้อง ปลาจะนอนตามความยาวของตัวข้อง จะทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นาน ถ้าขังปลาด้วยข้องเป็ดแล้วนำไปแช่น้ำที่ไหล ยิ่งจะทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้หลายวัน

อุปกรณ์ในการสานตะข้อง

1.ไม้ไผ่ที่จักเป็นเส้น เเละเหลาเป็นเส้นบางๆตามความยาวที่ต้องการ

2.มีดสำหรับเหลา 1 อัน ต้องเป็นมีดที่คม

3.เศษผ้าสำหรับพันที่นิ้วชี้ ใช้งานเมื่อเหลาไม้ไผ่ป้องกันการบาดมือ

4.ท่อนไม้ที่เหลาเป็นทรงกลม สำหรับทำเเบบขนาดของปากตะข้อง

วิธีการทำ

1.นำไม้ไผ่ที่เป็นลำมามาผ่า เเล้วจักให้เป็นเส้นๆ เสร็จเเล้วเหลาให้เป็นเส้นบางๆ จะใช้เฉพาะที่ผิวเปลือกนอกในการสานตะข้อง เพราะจะมีความทนทาน กว่าการใช้ใส้ข้างใน

2.ในการเหลาจะเหลาไว้หลายขนาด ถ้านำมาสานที่ตัวข้องจะใช้เส้นที่ยาวเเละเเบน ถ้านำมาทำที่ปากข้องจะใช้เส้นเล็กเเละกลม เพื่อความเเน่นหนา เเละคงทน

3.ทำการสานโดยสานตั้งเเต่ฐานของตะข้องขึ้นมาก่อน โดยสานเป็นการสลับ1 เว้น1

 

                 เริ่มต้นด้วยการจักตอก

                   เริ่มการสาน


            รูปสำเร็จ

สรุป คุณประโยชน์ของภูมิปัญญาพื้นบ้านจากไม้ไผ่

  ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ได้จาการจักรสานไม้ไผ่                                       ประโยชน์
1.            สุ่มไก่ สุ่มไก่ ซึ่งสุ่มไก่นี้สานได้ง่าย มีราคาถูกและใช้ประโยชน์ได้ดี
2.         การสานกระบุ้ง บุ่งมีประโยชน์หลายอย่าง เช่นเก็บเมล็ดพันธุ์เข้าเปลือกที่เรียกว่าเข้าเชื้อเป็นที่เก็บดอกฝ้ายเก็บฝักนุ่น และปุยนุ่นเก็บเมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิด
3.                 การสานกระติบข้าว จักสานกระติบข้าวไว้เป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียวนึ่งที่รับประทานอยู่ทุกวัน
4.         

          การสานไซ

เป็นเครื่องมือดักสัตว์น้ำ ไซมีหลายลักษณะ เช่น ไซปากแตร ไซท่อ ใช้ในการดักสัตว์ทุกประเภทในบริเวณน้ำไหล ไซลอย ไม้ไผ่เป็น ใช้ดักปลาในน้ำ นิ่ง เป็นต้น
5.                                 การสานข้องใส่ปลา ใช้ใส่ปลา กุ้ง หอย ทุกชนิด ใช้ในเวลาที่ออกหาปลา โดยผูกข้องไว้ที่เอว ปลาจะนอนตามความยาวของตัวข้อง จะทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นาน ถ้าขังปลาด้วยข้องเป็ดแล้วนำไปแช่น้ำที่ไหล ยิ่งจะทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้หลายวัน

 

คุณค่าของภูมิปัญญาไทย ได้แก่ ประโยชน์ และความสำคัญของภูมิปัญญา ที่บรรพบุรุษไทย ได้สร้างสรรค์ และสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง จากอดีตสู่ปัจจุบัน ทำให้คนในชาติเกิดความรัก และความภาคภูมิใจ ที่จะร่วมแรงร่วมใจสืบสานต่อไปในอนาคต เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ สถาปัตยกรรม ประเพณีไทย การมีน้ำใจ ศักยภาพในการประสานผลประโยชน์ เป็นต้น ภูมิปัญญาไทยจึงมีคุณค่า สามารถปรับประยุกต์หลักธรรมคำสอนทางศาสนาใช้กับวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม   คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยนำหลักธรรมคำสอนของศาสนา มาปรับใช้ในวิถีชีวิต ได้อย่างเหมาะสม ทำให้คนไทยเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประนีประนอม รักสงบ ใจเย็น มีความอดทน ให้อภัยแก่ผู้สำนึกผิด ดำรงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่าย ปกติสุข ทำให้คนในชุมชนพึ่งพากันได้ แม้จะอดอยากเพราะ แห้งแล้ง แต่ไม่มีใครอดตาย เพราะพึ่งพาอาศัย กัน แบ่งปันกันแบบ

 

 

Loading